นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจ และตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย ระบุว่า ค่าเงินบาทที่ยังแข็งค่า เป็นปัจจัยมาจากความผิดหวังของนักลงทุนเกี่ยวกับการปฏิรูปภาษีของสหรัฐที่ไม่เป็นไปตามกำหนดเวลา จึงทำให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในประเทศที่มีพื้นฐานดี รวมถึงประเทศไทย เพราะไทยทีดุลบัญชีเดืนสะพัดสูง 40,000-60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ค่าเงินบาทของไทยยังคงแข็งค่าต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 1 ปีหน้า โดยมีจุดต่ำสุด 32.20-32.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ค่าเงินบาทจะกลับมาอ่อนค่าอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป จากปัจจัยที่สหรัฐจะเริ่มปฏิรูปภาษีให้แล้วเสร็จ ซึ่งจะทำให้เม็ดเงินลงทุนไหลกลับไปยังสหรัฐ และทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงเหลือ 35,000-40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบกับการท่องเที่ยวของไทยจะขยายตัวเพียง 3-5% จากข้อจำกัดของสนามบิน และราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 55 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากปัจจุบันที่ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้ในสิ้นปีหน้าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าอยู่ที่ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ส่วนเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะขยายตัวได้ 3.6-3.7% ซึ่งเป็นการเติบโตตามเศรษฐกิจโลก ทำให้ส่งออกขยายตัวได้ประมาณ 6% แต่ยังมีปัญหาการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวในอัตราต่ำ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า นักลงทุนยังไม่มั่นใจเกี่ยวกับการปฎิรูปการเมืองของไทย และข้อกฎหมายที่จะลงทุน EEC ที่ยังไม่มีความชัดเจน ว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ โดยหากเป็นไปตามแผนจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีกว่าที่คาการณ์ จากที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.6% ตามการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และการส่งออกขยายตัวต่ำกว่า 6%