บล.เคทีบี ชี้หุ้นไทย 5-9 มี.ค.นี้อาจมีความผันผวน จากปัจจัยต่างประเทศทั้งเรื่องดอกเบี้ยและนโยบายการค้าของสหรัฐฯ แนะถือเงินสดรอซื้อและเน้นหุ้นที่มีผลกำไรดี มองกรอบดัชนีในสัปดาห์นี้ที่ 1,790-1,830 จุด หุ้นแนะนำ PTTGC, BJC, MTLS, BEAUTY

บล.เคทีบี ชี้หุ้นไทย 5-9 มี.ค.นี้อาจมีความผันผวน จากปัจจัยต่างประเทศทั้งเรื่องดอกเบี้ยและนโยบายการค้าของสหรัฐฯ แนะถือเงินสดรอซื้อและเน้นหุ้นที่มีผลกำไรดี มองกรอบดัชนีในสัปดาห์นี้ที่ 1,790-1,830 จุด หุ้นแนะนำ PTTGC, BJC, MTLS, BEAUTY

ดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ KTBST มองหุ้นทยสัปดาห์นี้ (5-9 มี.ค.) ว่าดัชนีฯจะมีความผันผวนและมีความเสี่ยงในขาลง นักลงทุนจะเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุน จากเรื่องทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯหลังประธาน Fed มีการแถลงต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีความไม่แน่นอนในเรื่องนโยบายการค้าของสหรัฐฯมากขึ้นซึ่งเป็นลบต่อการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องภาษีนำเข้าเหล็ก-อลูมิเนียมของสหรัฐฯ ขณะที่การรายงานผลประกอบการไตรมาส 4 ที่สิ้นสุดลงและหุ้นขนาดใหญ่จะทยอยขึ้น “XD” สัปดาห์นี้ทั้ง PTT, PTTGC, BH

ดังนั้นการลงทุนในสัปดาห์นี้ภาพตลาดดูเป็นลบและมีกรอบบนที่จำกัด นักลงทุนควรพิจารณาในฝั่งขายหุ้นที่ราคาขึ้นมามากและขาดปัจจัยบวกเฉพาะตัว หรือหุ้นที่มีค่า P/E สูงๆ ในช่วงนี้อาจพิจารณาทั้งการถือเงินสดเพิ่มให้มากขึ้นเพื่อรอซื้อหุ้นรอบใหม่ และโยกหุ้นจากกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกขายมาเน้นที่หุ้นที่ Valuation ดีๆ หรือหุ้น Defensive ในพอร์ตให้มากขึ้น ซึ่งในสัปดาห์นี้เน้นหุ้นที่มีกำไรดี ราคามีส่วนต่างจากราคาที่เหมาะสม ได้แก่ คือ PTTGC , BJC , MTLS , BEAUTY และ AH ส่วนหุ้นที่ทนความผันผวนของตลาดได้ ได้แก่ CPALL และ BGRIM มองกรอบดัชนีในสัปดาห์นี้ที่ 1,790-1,830 จุด
ทั้งนี้ปัจจจัยสำคัญปัจจัยที่ควรติดตามได้แก่ เรื่องการที่ประธานาธิบดี Trump จะลงนามอนุมัติภาษีนาเข้าเหล็ก-อลูมิเนียม 25% และ 10% ผลที่จะเกิดทันทีจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ผลิตรถยนต์-อากาศยาน-ท่อ และอุตสาหกรรมอื่นๆ และอาจส่งผลต่อระดับเงินเฟ้อในอนาคตหากราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งเป็นลบตลาดตลาดหุ้นสหรัฐฯโดยตรง ขณะที่ผู้ส่งออกเหล็ก-อลูมิเนียม ญึ่ปุ่น-แคนาดา-ยุโรป ก็จะได้รับผลลบจากความต้องการที่อาจลดลง ส่วนผลต่อผู้ประกอบการไทยจะเป็นเรื่องราคาวัตถุดิบเหล่านี้อาจลดลง แต่ตลาดอาจต้องตามต่อไปในเรื่อง นโยบายการค้าที่สหรัฐฯอาจนำมาใช้เพิ่มเติมและอาจนำไปสู่ภาวะสงครามทางการค้า (trade war) ได้และจะกลายเป็นปัจจัยลบหากเกิดขึ้นจริง
ขณะเดียวกันเรื่องดอกเบี้ยและQE นั้น จะมีผลต่อ Fund Flow และราคาน้ำมัน โดยตลาดกำลังจับตาดูนโยบายการเงินของ Fed ภายใต้ประธาน Fed คนใหม่ ที่ทราบกันแล้ว คือ ดอกเบี้ยน่าจะปรับขึ้น 4 ครั้งในปีนี้ เริ่มครั้งแรก 21 มี.ค. แต่นโยบายต่างๆ ที่มีผลต่อระบบการเงินและปริมาณเงิน นอกจากนี้ ตลาดจะให้ความสนใจ ต่อนโยบายด้านQE ของธนาคารกลางอื่นๆ ทั้ง ECB ที่จะมีการประชุมในวันพฤหัสนี้ (8 มี.ค.) และ BOJ มีการแย้มว่าจะลด QE ในปี 2019 ไปแล้ว ผลต่อตลาดหุ้นไทยนั้น จะเป็นเรื่อง Fund Flow ว่าจะไหลออกเพิ่มขึ้นหรือไม่ หากธนาคารกลางหลายประเทศทยอยลด QE ลง และหากเป็นผลให้ดอลลล่าร์ แข็งค่าขึ้น จะเป็นลบต่อราคาน้ามันและหุ้นน้ำมันด้วย

Related Posts

Scroll to Top