ยูบีเอส เอเชีย ระบุทิศทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปีหน้ายอดการลงทุนในประเทศไทยจะโตขึ้น 5.9%

บริษัทหลักทรัพย์ ยูบีเอส เอเชีย จำกัด (UBS Securities Asia Limited) สถาบันการเงิน การบริหารความมั่งคั่ง และการบริหารจัดการสินทรัพย์ระดับโลกจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้จัดทำรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยปี 2561 ระบุทิศทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปีหน้ายอดการลงทุนในประเทศไทยจะโตขึ้น 5.9% สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2555

ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ. 2561
คาดว่ายอดการลงทุนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ซึ่งถือว่าสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2555 ในขณะเดียวกันสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ไตรมาสสุดท้ายปี560 ยังคงพุ่งสูงขึ้น ด้านธนาคารพานิชย์ยังคงพร้อมปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคต่างๆ ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนยังมีโอกาสที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งยูบีเอสให้ความเชื่อมั่นสูงสุดต่อภาคธนาคารของไทยในการกระตุ้นการลงทุนในปี 2561

อัตราดอกจะเพิ่มสูงขึ้นในปี พ.ศ. 2561
ยูบีเอสคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ 25bps ในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2561 ด้วยการอ้างอิงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นจุดต่ำสุดในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 อย่างไรก็ตาม ยูบีเอสคาดว่าผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.6 ในปี พ.ศ. 2561 ประเด็นนี้มีความสำคัญเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาตราสารทุนในช่วงสองปีที่ผ่านมาอาจเกิดจากการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนระหว่างราคาหุ้นปัจจุบันเทียบกับกำไรต่อหุ้น การเติบโตดังกล่าวมีความเชื่อมโยงในทางตรงข้ามกับผลตอบแทนพันธบัตร ถ้ายูบีเอสประเมินถูกต้อง ขอบเขตของการเพิ่มขึ้นอัตราส่วนระหว่างราคาหุ้นปัจจุบันเทียบกับกำไรต่อหุ้นในปี พ.ศ. 2561 จะมีจำกัด ซึ่งนับเป็นความท้าทายของตราสารทุน

ตราสารทุนส่งผลให้จีดีพีเติบโตต่ำกว่ามาตรฐานในปี พ.ศ. 2559/2560 ความท้าทายเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2561
ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ได้ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 33 ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในช่วงสองปีที่ผ่านมา และเป็นหนึ่งในดัชนีหุ้นที่มีผลงานดีที่สุดในอาเซียน ถึงแม้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไทยจะต่ำกว่ามาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ยูบีเอสเชื่อว่าแรงหนุนจากปี พ.ศ. 2559/2560 จะกลายเป็นความท้าทายในปี พ.ศ. 2561 การประเมินสถานการณ์แบบกลางๆ พบว่า “ความท้าทาย” เหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะไม่ส่งผลกระทบรุนแรง การวิเคราะห์ของยูบีเอสด้วยโครงสร้างแบบบนลงล่างในตลาดหลักทรัพย์คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยทบต้นต่อปี (CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 9 ตลอดปี พ.ศ. 2561 และ 2562 ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีอยู่ที่ร้อยละ 2.6 และส่วนชดเชยความเสี่ยงไม่เพิ่มขึ้นมากนัก ทำให้ยูบีเอสกำหนดเป้าหมายที่ 1,755 จุด อย่างไรก็ตาม สมมติฐานนี้มีความเสี่ยงหลายด้าน การมองสถานการณ์แบบกลางๆ ของยูบีเอสประกอบด้วยสถานการณ์ที่ดีที่สุดและเลวร้ายที่สุด ซึ่งอยู่ที่ 1,842 จุดและ 1,526 จุดตามลำดับ

การประเมินอัตราดอกเบี้ยจากธปท. และการคาดการณ์ค่าเงินดอลลาร์-บาท
ค่าเงินบาทแข็งขึ้นกว่าที่ยูบีเอสเคยคาดการณ์ไว้ และถึงแม้ธปท. ยืนยันนโยบายปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แต่ยูบีเอสให้ความเชื่อมั่นน้อยลงในความสามารถของธปท. ที่จะเข้าแทรกแซงและควบคุมนโยบายอัตราดอกเบี้ยให้เข้าสู่ภาวะปกติภายในปีหน้า ซึ่งยูบีเอสปรับการคาดการณ์ค่าเงินดอลลาร์-บาทอยู่ที่ 33.5 และ 34.5 ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2560 และปรับจาก 35 และ 36 ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2561 ตามลำดับ ยูบีเอสยังคาดการณ์ด้วยว่า ธปท. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ 25bp เพียงครั้งเดียวในปี พ.ศ. 2561 แทนที่จะเป็นการปรับขึ้นสองครั้งตามที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นมติที่ไม่เป็นเอกฉันท์สำหรับประเด็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและเสียงส่วนใหญ่ยังคงมองว่า ธปท.จะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

เงินบาทแข็งค่าเหนือการคาดการณ์
จากการที่ยูบีเอสเคยจับตาทิศทางของค่าเงินบาทว่ามีโอกาสอ่อนค่าลงในช่วงปลายปีนี้ โดยมีสาเหตุหลักมาจาก i.) การส่งออกที่ชะลอตัว ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียที่เหนือความคาดหมาย ii.) งบดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลง (ส่วนหนึ่งมาจากการส่งออกที่ถดถอยพร้อมกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และมีการลงทุนมากขึ้น) iii.) เงื่อนไขทางการเงินมีความยากลำบากมากขึ้น แต่จนถึงปัจจุบัน ผลลัพธ์เหล่านี้ยังไม่ส่งผลกระทบมากนัก ดังนั้นการเติบโตของภาคการส่งออกยังไม่ส่งผลกระทบจนเกินความคาดหมายถ้าผนวกกับจำนวนเม็ดเงินในการลงทุนทำให้บัญชีเดินสะพัดยังคงแข็งแกร่งและเงื่อนไขทางการเงินจากภายนอกยังคงไม่รุนแรง

เศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ. 2561
ยูบีเอสคาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตที่แท้จริงของมูลค่าจีดีพีของประเทศไทยมีการชะลอตัวเล็กน้อยในปี พ.ศ. 2561 และ 2562 หลังจากมีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในปี พ.ศ. 2560 ยูบีเอสประเมินการเติบโตที่ร้อยละ 3.5 และร้อยละ 3.4 ในปี พ.ศ. 2561 และ 2562 หลังจากเติบโตร้อยละ 3.7 ในปี พ.ศ. 2560 การเติบโตที่แข็งแกร่งในภาคการค้าและเกษตรกรรมในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2560 จะลดลงเมื่อเข้าสู่ปี พ.ศ. 2561

ตามแนวโน้มระดับโลกและระดับภูมิภาค ยูบีเอสคาดว่าการส่งออกจะมีอัตราเติบโตในระดับปานกลางหลังจากมีการเติบโตเกินคาดในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2560 อย่างไรก็ตาม การเติบโตจะอยู่ที่ระดับเลขตัวเดียวช่วงกลาง – ไม่ใช่การเติบโตเป็นศูนย์หรือติดลบเหมือนการส่งออกดอลลาร์สหรัฐในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การขยายตัวของภาคการค้าและการลงทุนภาครัฐก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งที่อาจเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 รวมถึงวงจรสินเชื่อที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งหมดนี้จะช่วยให้การเติบโตขององค์กรภาคเอกชนฟื้นตัวดีขึ้นจากภาวะถดถอยก่อนหน้านี้ (สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม เข้าชมรายงานของยูบีเอส APAC Economic Comment, Thailand: Green ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561) ยูบีเอสให้ความเชื่อมั่นว่าการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพานิชย์ที่เพิ่มขึ้นจะช่วยสนับสนุนวงจรสินเชื่อให้ปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามซึ่งยูบีเอสคาดการณ์ถึงการเติบโตทางการลงทุนที่แท้จริงที่ 5.9 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2561 (สูงสุดในรอบ 6 ปี) แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อคุณภาพของสินทรัพย์ที่ทำให้วงจรสินเชื่อตกต่ำนับเป็นความเสี่ยงที่สำคัญของสถาบันการเงินในประเทศไทย

การเติบโตด้านการบริโภคได้รับแรงกระตุ้นจากรายได้ทางการเกษตรในช่วงต้นปี พ.ศ. 2560 พร้อมกับได้แรงส่งเสริมจากความต้องการของผู้บริโภคในการใช้จ่ายช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตลาดแรงงานที่ซบเซาเกิดจากการอัตราการจ้างงานที่ติดลบและการลดลงของรายได้ที่เกือบเป็นศูนย์ซึ่งเกินความคาดการณ์ของยูบีเอส ถึงแม้ทางยูบีเอสจะตระหนักถึงความเสี่ยงของผลคาดการณ์ในเชิงบวกต่อการประเมินของยูบีเอส เนื่องจากผู้บริโภคมีการใช้จ่ายในช่วงถวายความอาลัยในทิศทางบวกและเพราะสาเหตุนี้ข้อมูลตลาดแรงงานที่มีอยู่อาจแสดงถึงภาพด้านลบของรายได้แรงงานที่ไม่ถูกต้อง

ยูบีเอสคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะเพิ่มจากร้อยละ 0.7 ในปี พ.ศ. 2560 เป็นร้อยละ 1.3 ในปี พ.ศ. 2561 ถ้าข้อมูลตลาดแรงงานถูกต้อง ปัจจัยคือการเติบโตของผลิตภาพตามวงจรที่มีความแข็งแกร่ง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในไตรมาสที่สองของปี พ.ศ. 2560 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว) และแรงกดดันต่อเงินเฟ้อที่ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยูบีเอสประเมินว่าราคาสินค้าอาหาร (ร้อยละ 0.1 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560) จะมีแรงฉุดต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี พ.ศ. 2561 น้อยลง เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2560

การกำหนดนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อไม่นานนี้พิจารณาภาพรวมของเศรษฐกิจ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่รายงาน APAC Economic Comment, Thailand: Less baht
weakness, less BoT hikes วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2560) รวมถึงอัตราเงินเฟ้อ เสถียรภาพทางการเงิน การใช้ทรัพยากรและความเสมอภาคของรายได้ ยูบีเอสคาดคะเนว่า ​คณะกรรมการนโยบายการเงินของธปท. อาจกำหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเดิม แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการแข็งค่าของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและภาคธุรกิจ โดยในอดีตที่ผ่านมา ยูบีเอสมองว่าธปท. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่สูงขึ้นเป็นสาเหตุของการกำหนดนโยบายปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ย เงินบาทที่อ่อนค่าลงหรือความกังวลต่อค่าเงินบาทอาจถูกใช้เป็นสาเหตุในการใช้นโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ยูบีเอสมองว่าภายในปี พ.ศ. 2561 นโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะทำให้อัตราดอกเบี้ยเฟด ฟันด์ (Fed Funds) อยู่เหนือกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินของธปท. เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนี่คือการคาดการณ์ภาพรวมของตลาดและบัญชีเดินสะพัดเกินดุลที่แข็งแกร่ง (แต่หดตัว) อยู่ที่ ร้อยละ 8.5 ของจีดีพีในปี พ.ศ. 2561 ยูบีเอสคาดว่าอัตราแลกเปลี่ยนของเงินดอลลาร์สหรัฐต่อเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยไปอยู่ที่ 34.5 บาทภายในช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2561 อย่างไรก็ตาม นั่นเพียงพอแล้วที่ธปท. จะใช้โอกาสนี้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ 25bps เป็นร้อยละ 1.75 ในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2561 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของไทยจะเพิ่มมูลค่าขึ้นโดยผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ แต่ยังคงสะท้อนถึงวงจรการปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปของธปท. ดังนั้นผบตอบแทนจึงยังคงต่ำกว่าผลตอบแทนของดอลลาร์สหรัฐ การประเมินภาพรวมมีความหลากหลาย คณะรัฐบาลคาดว่าภาวะขาดดุลจะหดแคบลงในปี พ.ศ. 2561 แต่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานรัฐบาลอื่นๆ ชี้ว่าค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคจะผลักดันให้ระดับหนี้สาธารณะพุ่งสูงขึ้นกว่างบประมาณของภาครัฐ

Related Posts

Scroll to Top