รัฐเล็งถกตลาดกลางเชื่อมเกษตร-ธงฟ้า ระบายสินค้าเกษตร กระจายสินค้าชุมชน

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงแนวทางการพัฒนา ช่องทางกระจายสินค้าเกษตร เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ โดยในช่วงต้นเดือนม.ค.2561 มีแผนจะเรียกกลุ่มตลาดกลางทั้ง 10 แห่งทั่วประเทศ อาทิ ตลาดไท ตลาด สี่มุมเมือง ตลาดศรีเมือง เข้ามาหารือเพื่อการหามาตรการช่วยพัฒนาช่องทางกระจายสินค้าเกษตรร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ เป็นการเพิ่มทางเลือกในการช่วยเข้ามาวางแผนบริหารจัดการสินค้าเกษตรในช่วงฤดูกาลผลผลิต ล้นตลาดได้เพิ่ม เพราะกลุ่มตลาด ดังกล่าวถือเป็นตลาดขนาดกลางขนาดใหญ่ที่กระจายสินค้าไปยังทั่วประเทศ

ทั้งนี้ การดึงกลุ่มตลาดกลางเข้ามาหารือนอกจากจะดึงมาเป็นพันธมิตรเพื่อช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตรในช่วงที่ฤดูกาลผลิตล้นตลาดแล้ว ยังดึงมาช่วยเป็นจุดกระจายสินค้า (เอาท์เล็ท) สินค้าชุมชนจากทั่วประเทศ ที่จะเชื่อมกับร้านธงฟ้าประชารัฐ ที่ปัจจุบันมี 20,000 แห่ง กำลังจะขยายเป็น 40,000 แห่ง ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาจุดเชื่อมสำคัญ ที่ทำงานร่วมกันทั้งซัพพลายเชน ที่จะช่วยเชื่อมโยงตลาดผ่านความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึง วิสาหกิจชุมชน ที่มีศักยภาพ ในการพัฒนาช่องทางตลาด จะส่งผลต่อราคาสินค้าเกษตรมีเสถียรภาพในระยะยาว

นอกจากนี้ ในช่วงต้นปียังจะเรียกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ที่เคยต่อต้านการนำเข้าสุกรจากสหรัฐฯเข้ามาหารือ ภายหลัง จากทางภาครัฐได้หารือในเบื้องต้นมาตลอด การเรียกเอกชนและผู้เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสุกรเข้ามาหารือ จึงเป็นการวางแผนการเตรียม พร้อมหามาตรการป้องกันและรองรับการแข่งขัน โดยการรับฟังข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องโดยตรง

ด้านนางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยังกล่าวถึงแนวทางการปกป้อง การแข่งขันหากมีการเปิดตลาดให้ นำเข้าสุกรจากประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ที่สหรัฐเปิดเจรจากับไทย มาตลอด เมื่อมีการหารือผ่านเวทีการค้า ต่างๆ ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งยัง เป็นจุดที่มีความเห็นแตกต่างกัน เพราะมาตรฐานและกฎหมายของไทย ห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงในกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ในการเลี้ยงหมู โดยมีกฎหมาย 3 ฉบับที่ควบคุม ได้แก่ พระราชบัญญัติ ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์การจำหน่าย เนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ของกระทรวงสาธารณสุขที่ห้ามใช้สารกลุ่มนี้

ทั้งนี้การที่สหรัฐอ้างถึงหลักปฏิบัติ ตามกฎเกณฑ์ของคณะกรรมการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (CODEX) ที่ยอมรับให้ใช้สาร เร่งเนื้อแดง คือ แรกโตพามีน (Ractopamine) ได้ตามเกณฑ์กำหนดค่าสูงสุดว่าไม่เกินเท่าไหร่แต่หากใช้วิธีการนำเข้าโดยการ ติดฉลากก็ถือว่ายังเป็นต้นทุนที่ สูงขึ้นสำหรับไทย และหากนำเข้ามาในบรรจุภัณฑ์แบบเทกอง (Bulk) เมื่อหมูจากสหรัฐถูกกระจายไปยังร้านอาหาร หรือเขียงหมูในตลาด ผู้บริโภคก็ไม่แยกแยะไม่ได้ถึงแหล่งที่มา ดังนั้น ต้องขึ้นอยู่กับการหารือของคณะกรรมการทั้ง 2 ประเทศ ที่จะต้องเจรจาบนพื้นฐานข้อมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายของแต่ฝ่าย

ด้านนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวถึง ผลศึกษาการนำยางพารามาเป็นสินค้าควบคุม โดยในวันที่ 8 ม.ค.2561 จะประชุม คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ซึ่งเป็นการประชุมในวาระปกติ และจะหยิบยกประเด็นเรื่องผลการศึกษาและความเป็นไปได้ในการพิจารณานำยางพาราเป็นสินค้าควบคุม

Related Posts

Scroll to Top