นิกเคอิ เอเชียน รีวิว รายงาน อ้างข้อมูลจากซีบี อินไซท์ บริษัทวิจัยสหรัฐว่า นับถึงวันที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา เอเชียมีสตาร์ทอัพ ที่ไม่ได้เข้าจดทะเบียน ในตลาด และมีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ขึ้นไป หรือที่เรียกกันว่า “ยูนิคอร์น” อยู่ราว 75 ราย คิดเป็นสัดส่วน 41% ของยูนิคอร์นทั่วโลก ที่มีอยู่ 220 ราย ใน 22 ประเทศทั่วโลก รวมถึง 3 รายในทวีปแอฟริกา รวม มูลค่าทั้งสิ้น 763,000 ล้านดอลลาร์ ถือเป็นภูมิภาคที่มียูนิคอร์นมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐที่ คิดเป็นสัดส่วน 50% และอันดับ 3 เป็นของยุโรปที่ 8%ในระดับโลกนั้น อูเบอร์ เทคโนโลยีส์ ผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่นเรียก รถรับส่ง ถือเป็นยูนิคอร์นที่มีขนาดใหญ่สุด มูลค่า 68,000 ล้านดอลลาร์ขณะที่จีนเป็นประเทศที่มียูนิคอร์นมากสุดในเอเชียจำนวน 59 ราย โดย “ตี้ตี่ ชูซิง เทคโนโลยี” ผู้ให้บริการ แอพพลิเคชั่นเรียกรถรับส่งยอดนิยม เป็นยูนิคอร์นที่มีมูลค่าสูงสุด มากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ส่วนสตาร์ทอัพดาวเด่นรายอื่นๆ ของจีน รวมถึง “เสี่ยวหมี่” ผู้ผลิต สมาร์ทโฟน “ดีเจไอ” บริษัทผลิตโดรน “ปักกิ่ง โมไบค์ เทคโนโลยี” ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นเช่าจักรยานและถู่เจียผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับลงประกาศ ค้นหา และจองที่พักชุมชน แบบเดียวกับแอร์บีแอนด์บีอันดับ 2 ตกเป็นของอินเดียที่ 10 ราย โดย “ฟลิปคาร์ท” และ “สแนปดีล” 2 ผู้ค้าปลีกอีคอมเมิร์ซ เป็นสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากสุดแม้ฟลิปคาร์ท จะติดอยู่ในอันดับ ที่ 11 ของยูนิคอร์นโลก ด้วยมูลค่า 11,600 ล้านดอลลาร์ แต่ในอินเดียแล้วถือเป็นผู้ค้าปลีกออนไลน์รายใหญ่สุด ของประเทศ แซงหน้ายักษ์ใหญ่จาก สหรัฐ อย่างอเมซอน ดอท คอม ที่ติด อันดับ 2 ของผู้ค้าปลีกออนไลน์ในประเทศนี้เมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ฟลิปคาร์ท ยังเปิดแบรนด์”มาร์คิว” เป็นของตัวเอง สำหรับสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ในบ้าน ทั้งยังอยู่ระหว่างการหารือ เพื่อเข้าซื้อหุ้นในบริษัทขายตั๋ว ออนไลน์ด้วยยูนิคอร์นรายอื่นๆ ของอินเดีย รวมถึง “วัน97 คอมมูนิเคชันส์” ผู้ให้บริการ “เพย์ทีเอ็ม” ชำระเงินออนไลน์ และ “โอลา” สตาร์ทอัพบริการเรียก รถรับส่ง ที่น่าสนใจสำหรับอุตสาหกรรม สตาร์ทอัพในอินเดีย คือการที่ “ซอฟท์แบงก์ กรุ๊ป” ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่น เป็นผู้ถือหุ้น ในยูนิคอร์น 4 รายใหญ่สุดของอินเดีย เน้นให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อสตาร์ทอัพอินเดียทางด้านภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ที่มีประชากรอยู่มากกว่า 600 ล้านดอลลาร์ ใน 10 ประเทศ มียูนิคอร์นอยู่ 3 รายด้วยกัน โดย 2 ราย ในจำนวนนี้ เป็นบริษัทให้บริการเรียก รถรับส่ง คือ “แกร็บ” ซึ่งจดทะเบียน ในสิงคโปร์และมีฐานดำเนินงานในมาเลเซีย และ “โกเจ็ก”ของอินโดนีเซีย ส่วนอีกรายหนึ่งคือ “ทราเวโลกา โฮลดิ้ง” สตาร์ทอัพจากอินโดนีเซียเช่นกัน ทำธุรกิจ ให้บริการจองการเดินทางท่องเที่ยวก่อนหน้านี้ เอเชียตะวันออก เฉียงใต้เคยมียูนิคอร์น 4 รายด้วยกัน แต่ “ซี” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า การีนา บริษัทด้านการลงทุนเทคโนโลยี เพิ่งเข้า จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก เมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมาสิ่งที่ทำให้แกร็บ และโกเจ็ก มี เอกลักษณ์แตกต่างจากผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่นเรียกรถรับส่งรายอื่นๆ คือ บริการรถจักรยานยนต์ และ บริการอื่นๆ ตามแต่ที่ผู้บริโภคท้องถิ่นต้องการ ทั้ง 2 บริษัทยังมีบริการส่งอาหาร และสินค้าอื่นๆ ซึ่งเชฟอินโดนีเซีย ที่ทำงานกับผู้ค้าปลีกออนไลน์รายหนึ่ง ระบุว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซอย่างไรก็ดี ประเทศที่ขึ้นชื่อว่า เป็นหนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยีของเอเชีย อย่าง ญี่ปุ่น กลับมีสตาร์ทอัพที่ติดอยู่ในผลสำรวจยูนิคอร์นของ ซีบี อินไซท์ เพียงรายเดียวเท่านั้น คือ “เมอร์คาริ” ผู้ให้บริการตลาดนัด เสมือนจริง แต่ผลสำรวจ “เน็กซ์ ยูนิคอร์น” ที่นิกเคอิ ร่วมกับ สมาคม นักลงทุนเงินทุนญี่ปุ่น จัดทำขึ้นนั้น ยังระบุถึง “พรีเฟอร์ด เน็ตเวิร์คส์” บริษัทด้านปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ในกรุงโตเกียว ที่มีมูลค่ามากกว่า 2,050 ล้านดอลลาร์
