นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร ร่วมกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารไทยในปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7 เพิ่มขึ้นจากปี 2560 มีมูลค่าส่งออก 1.07 ล้านล้าน จากปีนี้ที่ 1 ล้านล้านบาท มีปริมาณส่งออกที่ 32.5 ล้านตัน ซึ่งยอมรับว่ามูลค่าการส่งออกอาหารลดลงจากเป้าหมายที่ 1.03 ล้านล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท แต่ยังได้รับผลดีจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่ผลผลิตวัตถุดิบสินค้าเกษตรปีการผลิต 2560/2561 จะเพิ่มขึ้นตามปริมาณน้ำฝน และรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนภาคการเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานรากทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย
โดยคาดว่ามูลค่าสินค้าส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ ไก่ น้ำตาลทราย กุ้ง และทํน่ากระป๋อง
อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงในปี2561 จากค่าเงินบาทที่แข็งค่า ราคาพลังงานที่สูงขึ้นกระทบต่อต้นทุนสินค้าและค่าขนส่ง แนวดน้มการขาดแคลนแรงงานทั้งภาคเกษตรกรรมและภาคอัตสาหกรรม รวมถึงต้นทุนแรงงานมีแนวโน้มสูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันขิงประเทศ
โดยกลุ่มประเทศ CLMV ยังคงเป็นตลาดส่งออกอาหารอันดับ 1 ของไทย มีสัดส่วนร้อยละ 16.6 รองลงมา ได้แก่ ญี่ปุ่น ร้อยละ 13.5 อาเซียนเดิม ร้อยละ 11.6 สหรัฐอเมริการ้อยละ 10.6
สำหรับก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมอาหาร คือ การผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรมตามนโยบายของรัฐ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอาหาร โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC ที่ภาครัฐ สถาบันอาหาร รวมทั้งสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกันผลักดันให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อผลสำเร็จเป็นรูปธรรม