ทำความรู้จักกับคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz

คลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz เป็นคลื่นความถี่ในช่วง 2500 -2690 MHzตามแผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT

โดยคลื่นความถี่ที่ถูกนำมาประมูลครั้งนี้ มาจากการเรียกคืนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือ ใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า หรือ นำมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ายิ่งขึ้น เพื่อนำมาจัดสรรใหม่ ให้เกิดการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ และเกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เพิ่มขึ้น
คลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้งานในช่วงความถี่
2600 – 2620 MHz ซึ่งจะสามารถใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการในพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพมหานคร ลพบุรี สระบุรี อยุธยา นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก สงขลา เชียงใหม่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร บุรีรัมย์ สุรินทร์ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ได้ภายหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการใช้คลื่นความถี่ที่มีการใช้งานอยู่เดิม
คุณสมบัติที่น่าสนใจของคลื่น 2600MHz
*เป็นคลื่นบนย่านความถี่ : ปานกลาง
*ความแรงของสัญญาณ : สามารถส่งสัญญาณได้ไกลระดับหนึ่ง ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ก็คือ สามาถรทะลุทะลวงในอาคาร หรือ สิ่งกีดขวางได้ดีในระดับหนึ่ง
*ความกว้างช่องสัญญาณ : ระดับปานกลาง
*ความเร็ว : สูงปานกลาง
*พื้นที่ใช้งานที่เหมาะสม : เหมาะสมที่สุดกับการให้บริการ 5G ให้ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ใน “ย่านตัวเมืองที่หนาแน่น” “ย่านชานเมือง” และ”ย่านที่ห่างไกลชุมชน” เนื่องจากคลื่นความถี่นี้ สามารถส่งสัญญาณได้ไกลและรองรับปริมาณการใช้งานจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน
ส่วนรูปแบบการติดตั้งสถานีฐาน : ได้ทั้งแบบ สถานีฐานขนาดใหญ่ , กลาง และ เล็ก รวมถึง สถานีฐานในอาคาร
คำถามที่หลายคนอยากรู้คือ เหมาะกับการใช้งานแบบไหน ??
เป็นความถี่ที่เหมาะสำหรับการบริการที่ต้องการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง , บริการที่ต้องการความหน่วงต่ำ และ รองรับ IoT
ยกตัวอย่าง เช่น ….
โทรศัพท์มือถือ หรือ สมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ ที่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รวมถึงอุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่จะถูกพัฒนาให้รองรับคลื่นความถี่ย่านนี้มากที่สุด

Related Posts

Scroll to Top