Lightnet-WeLab จับมือลุย Virtual Bank ตั้งเป้าปฏิวัติการเงินไทย ชูธงเทคโนโลยีขั้นสูง เจาะกลุ่มลูกค้า Unserved และ Underserved

Lightnet-WeLab จับมือลุย Virtual Bank ตั้งเป้าปฏิวัติการเงินไทย ชูธงเทคโนโลยีขั้นสูง เจาะกลุ่มลูกค้า Unserved และ Underserved

กลุ่มทุน Lightnet-WeLab ประกาศความพร้อมชิงใบอนุญาต Virtual Bank ในประเทศไทย มุ่งมั่นยกระดับอุตสาหกรรมการเงินไทยสู่ยุคดิจิทัล ด้วยโซลูชั่นธนาคารไร้สาขา พร้อมเดินหน้าขยายบริการทางการเงินให้ครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่ม Unserved และ Underserved ดึง ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม นั่งแท่นที่ปรึกษาอาวุโส

ล่าสุด ได้ประกาศแต่งตั้ง ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม ประธานบริษัท ไลท์เน็ท กรุ๊ป (Lightnet Group) เป็นที่ปรึกษาอาวุโส โดย ดร.ชาลี เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน Virtual Banking ในเชิงลึก ประกอบกับประสบการณ์ในฐานะผู้นำองค์กรสำคัญ ๆ ในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงการเงินและเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน และยกระดับศักยภาพของกลุ่ม Lightnet-WeLab ให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

Virtual Bank บริการแห่งอนาคต พลิกโฉมแวดวงการเงินโลก

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา Virtual Bank ได้สร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ โดยเข้ามาเปลี่ยนแปลงและกำหนดทิศทางใหม่ให้กับอุตสาหกรรมธนาคารทั่วโลก ด้วยการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับหลากหลายบริการทางการเงิน และขับเคลื่อนการเติบโตที่ก้าวไปไกลกว่ามาตรฐานและความคาดหวังแบบเดิมๆ

กลุ่ม Lightnet-WeLab เชื่อมั่นว่า การเพิ่มขึ้นของ Virtual Bank ในประเทศไทย จะช่วยกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมการเงินใหม่ ๆ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ และขยายบริการด้านการเงินให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกกลุ่มได้อย่างครอบคลุม ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการเงิน สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ และธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่ม สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างทั่วถึง

ตัวอย่างความสำเร็จของ Virtual Bank ในต่างประเทศ เช่น ในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดที่ใกล้เคียงกับไทย พบว่า มีจำนวนผู้ให้บริการ Virtual Bank เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วยขยายการเข้าถึงเครดิตให้กับลูกค้าในกลุ่ม Unserved และ Underserved โดย Virtual Bank ทั้ง 15 แห่ง มียอดบัญชีผู้ใช้กว่า 70 ล้านราย และมียอดการปล่อยสินเชื่อสูงกว่าแหล่งสินเชื่ออื่น ๆ รวมถึงธนาคารทั่วไป โดยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึงกว่าร้อยละ 22

ส่วนที่ฮ่องกง ธนาคาร Virtual Bank 8 แห่ง ที่ได้รับใบอนุญาตในปี 2019 มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ถึงแม้จะต้องแข่งขันในตลาดที่ประชากรส่วนใหญ่มีบัญชีธนาคารอยู่แล้ว โดยร้อยละ 30 ของชาวฮ่องกงได้เปิดบัญชีออนไลน์กับธนาคาร Virtual Bank โดยตลอดสามปีที่ผ่านมา ยอดเงินฝากและยอดการปล่อยสินเชื่อทั้งหมด มีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าร้อยละ 77 ต่อปี และร้อยละ 147 ต่อปีตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยได้รับประโยชน์อย่างมาก ด้วยประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นหลังใช้บริการโซลูชั่นด้าน Virtual Banking

ธนาคาร Virtual Bank หลายแห่งทั่วโลกมีการเติบโตเป็นอย่างมากทั้งในแง่ขนาดและความสำคัญ เช่น NuBank ธนาคาร Virtual Bank ที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากบราซิล ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์อยู่ที่ 70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท) ซึ่งมากกว่ามูลค่าหลักทรัพย์ของธนาคารรายใหญ่ระดับท็อปสี่แห่งของไทยรวมกัน

ด้วยความสำเร็จในการเปิดตัว Virtual Bank สองแห่งทั้งในอินโดนีเซียและฮ่องกง กลุ่ม Lightnet-WeLab จึงมีความพร้อมที่จะนำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ มาช่วยตอบโจทย์ความต้องการด้านการเงินของคนไทย และมีส่วนช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการเงินของประเทศสู่ความสำเร็จ และสร้างการเติบโตให้แก่เศรษฐกิจของประเทศไทย

3 กลยุทธ์สำคัญ สู่เป้าหมายการเข้าถึงบริการทางการเงิน

กลุ่ม Lightnet-WeLab มุ่งมั่นที่จะนำประเทศไทยให้บรรลุความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างครอบคลุม ด้วย 3 แนวทางสำคัญ ดังนี้

  • Financial Inclusion: สร้างมาตรฐานใหม่ของบริการธนาคาร โดยลดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการด้านการเงิน เช่น การกำหนดยอดเงินฝากขั้นต่ำที่ 500 บาทในการเปิดบัญชีธนาคารทั่วไป ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงบริการด้านการเงินสำหรับลูกค้าบางกลุ่ม ดังนั้น การมีธนาคาร Virtual Bank จะช่วยเพิ่มโอกาสและความสามารถในการแข่งขันเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคโดยรวม

ยกตัวอย่างเช่น ที่ฮ่องกง หลังจากที่ประกาศมอบใบอนุญาตการดำเนินธุรกิจให้แก่ธนาคาร Virtual Bank ตั้งแต่ปี 2019 ธนาคารหลายแห่งได้ประกาศยกเลิกอัตราเงินฝากขั้นต่ำทันที เพื่อให้สอดคล้องกับ “มาตรฐานใหม่” ของตลาด

ด้วยระบบนิเวศที่กว้างขวางของกลุ่ม Lightnet-WeLab ที่ประกอบด้วยลูกค้าถึง 46 ล้านรายในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งเกษตรกรรม อาหารและเครื่องดื่ม และอีคอมเมิร์ซ รวมถึงช่องทางบริการลูกค้าแบบออฟไลน์กว่า 150,000 แห่ง จะเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันที่สำคัญ ที่จะช่วยลดการพึ่งพาสินเชื่อนอกระบบ และสร้างโลกการเงินที่คนทุกกลุ่มและทุกระดับในไทยสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้

  • Innovative Products: ชูนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเงิน เพื่อสร้างความแตกต่างจากการให้บริการของธนาคารแบบดั้งเดิม ที่เน้นให้บริการแบบเดียวกับลูกค้าทุกกลุ่ม (One size fits all) โดยกลุ่ม Lightnet-WeLab มุ่งออกแบบผลิตภัณฑ์การเงินที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า Unserved และ Underserved โดยเฉพาะ

ยกตัวอย่างเช่น ธนาคาร Saqu ซึ่งเป็น Virtual Bank ของ WeLab ที่อินโดนีเซีย ได้นำเสนอบริการ “กระเป๋าออมเงิน” หรือ “Saving Pockets” ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า และอยู่รวมกันในบัญชีธนาคารเดียว ช่วยให้ผู้ใช้ที่ถือบัญชีสามารถบริหารจัดการรายรับรายจ่ายในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมฟีเจอร์นี้มียอดการใช้งานรายเดือนสูงถึงร้อยละ 60 และมีผู้สมัครใช้งานเกือบ 2 ล้านรายในระยะเวลา 12 เดือน โดยร้อยละ 40 เป็นลูกค้าที่อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบ ผลลัพธ์ที่ได้ตอกย้ำให้เห็นถึงศักยภาพของการออกแบบผลิตภัณฑ์การเงินที่มุ่งตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากลุ่ม Unserved และ Underserved ซึ่งประเทศไทยสามารถนำไปปรับใช้สร้างกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการด้านการเงินของประเทศได้

  • Responsible Lending: ก้าวนำตลาดด้วยการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม มาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้กลุ่มเศรษฐกิจนอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบได้ WeLab ให้สินเชื่อแล้วรวมกว่า 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5.12 แสนล้านบาท) ในตลาดต่าง ๆ ทั่วเอเชียตลอด 12 ปีที่ผ่านมา ด้วยเทคโนโลยีบริการด้านเครดิตที่ WeLab เป็นเจ้าของสิทธิบัตร การกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามระดับความเสี่ยงจากความน่าเชื่อถือและพฤติกรรมของผู้ใช้แต่ละรายโดยเฉพาะ (Risk-based Pricing) ทำให้มียอดอัตราค้างชำระหนี้ที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด ทำให้ Welab มีอัตราหนี้เสียที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยตลาดสินเชื่อของฮ่องกงถึง 6 เท่าในปีที่ผ่านมา

กลุ่มทุน Lightnet-WeLab เดินหน้าในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านเครดิตที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของ WeLab และโมเดลการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงให้เหมาะสมกับตลาดไทย ด้วยการประมวลผลข้อมูลในหลากหลายมิติและเทคโนโลยี Edge Computing เพื่อประเมินความเสี่ยง จึงสามารถขยายการให้สินเชื่อให้แก่ผู้กู้ยืมที่อาจเคยถูกมองว่าความเสี่ยงสูงภายในโมเดลสินเชื่อแบบปัจจุบันได้ เช่น เทคโนโลยีการวิเคราะห์ภาพด้วยโดรนผ่านข้อมูลจากจานดาวเทียม ช่วยให้ธนาคารสามารถระบุผู้กู้ยืมในกลุ่มเกษตรกรรมที่มีผลผลิตสูงและมีคะแนนเครดิตดี และเสริมสร้างประสิทธิภาพของการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยง

ดร.ชาลี มั่นใจ Lightnet-WeLab พร้อมส่งมอบบริการ Virtual Bank ภายใน 12 เดือน

ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม ประธานบริษัท ไลท์เน็ท กรุ๊ป (Lightnet Group) และที่ปรึกษาอาวุโสกลุ่มทุน Lightnet-WeLab กล่าวว่า “ความฝันของผมคืออยากเห็นคนไทยทุกคนสามารถหลุดพ้นจากวงจรหนี้ มีอิสรภาพและเสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งบริการธนาคารที่ดีจะสามารถพาเราไปสู่จุดนั้นได้ โดยเฉพาะ Virtual Bank ที่มีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยี ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการสร้างธนาคารพาณิชย์ไร้สาขาทั่วเอเชีย หากเราได้รับเกียรติได้ใบอนุญาต เรามั่นใจว่าเราจะสามารถส่งมอบการให้บริการแก่ลูกค้าภายใน 12 เดือน โดยมีผลิตภัณฑ์ด้านการเงินอย่างเหมาะสม รวมถึงโซลูชั่นที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อลดช่องว่างด้านการเงินของกลุ่ม Unserved และ Underserved โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมค้าปลีก และกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อมและขนาดย่อยในไทย ผมหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะนำพากลุ่ม Lightnet-WeLab เข้าสู่ตลาดไทย และทำงานร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยสร้างอนาคตที่สดใสให้กับอุตสาหกรรมการเงินของประเทศ”

#LightnetWeLab #VirtualBank #ธนาคารไร้สาขา #FinTech #FinancialInclusion #ดิจิทัลแบงก์กิ้ง #เศรษฐกิจดิจิทัล #Unserved #Underserved #ResponsibleLending #นวัตกรรมการเงิน #เทคโนโลยีทางการเงิน #AI #ปัญญาประดิษฐ์

รู้ใจ เดินหน้ารุกตลาด! ประกาศเข้าซื้อ ไดเร็คเอเชีย ประเทศไทย เสริมแกร่งส่วนแบ่งตลาด

Scroll to Top