นายจ้าง”มองเป็นตัวเร่ง ให้ภาคอุตสาหกรรมหันใช้ “หุ่นยนต์” แทน

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์กรนายจ้างผู้ประกอบการค้าอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างในครั้งนี้ มองว่าปรับสูงกว่าที่คาดหมาย ซึ่งตามความเห็นของคณะอนุกรรมการค่าจ้างในจังหวัดต่างๆมองว่าไม่ควรขึ้นไปเกิน 12 บาท ทำให้ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของกรุงเทพฯ และปริมณฑล อยู่ที่ 325 บาทต่อวัน และจังหวัดท่องเที่ยวอย่าง จ.ระยอง ภูเก็ต ชลบุรี ขึ้นไปถึง 330 บาท

สำหรับผลกระทบของแต่ละอุตสาหกรรม หากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีน้อย ใช้แรงงานมาก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก กระดาษ รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม และเอสเอ็มอี ย่อมกระทบ สูง โดยจะต้องปรับตัวนำเครื่องจักรมาใช้มากขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง ใช้เทคโนโลยีสูง ก็จะไม่กระทบ
“การปรับขึ้นค่าจ้างอย่างรวดเร็ว จะทำให้ ภาคการผลิตนำหุ่นยนต์ และเครื่องจักรอัตโนมัติ นำมาใช้เร็วขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องค่าจ้าง ที่เพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด”
อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อนโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นในอุตสาหกรรมไฮเทค แต่อาจจะกระทบกับผู้ประกอบการที่อาจจะลังเลในการขยายการลงทุน และจะหันไปลงทุนในเครื่องจักรอัตโนมัติมากขึ้น

นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ นายกสมาคมนายจ้างอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า สมาชิก30 บริษัท ได้นัดหารือเพื่อแบ่งปัน ข้อมูลในวันนี้(19 ม.ค.) เบื้องต้นพร้อมปฏิบัติตามและจะทำให้ดีที่สุดโดยในบริษัทขนาดใหญ่ มีความพร้อมที่จะปรับ และวางแผนล่วงหน้า โดยเตรียมทางเลือกไว้หลายโมเดลแล้ว

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอาจส่งผลกระทบกับกลุ่ม ผู้ผลิตขนาดเล็กหรือเอสเอ็มอีในกลุ่ม เทียร์ 3 เทียร์ 4 ที่ยังมีการจ้างแรงงานทั่วไปอยู่ พอสมควร ขณะที่กลุ่มชิ้นส่วนเทียร์ 1 เทียร์ 2 และโรงงานผลิตรถยนต์ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงนัก เพราะส่วนใหญ่เป็นแรงงานมีทักษะ และได้ค่าจ้างและสวัสดิการที่สูงกว่าแรงงานค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามจะต้องดูว่า ผลกระทบ ที่เกิดขึ้นจากเอสเอ็มอี จะมีผลต่อต้นทุนการผลิตมากน้อยแค่ไหน และมีผลต่อเนื่องมายังภาพรวมอุตสาหกรรมหรือไม่

Related Posts

Scroll to Top