คราวน์ โทเคน “CWT” ตัวเชื่อมระบบนิเวศของโลก IP – NFT และ Metaverse

คราวน์ โทเคน “CWT” ตัวเชื่อมระบบนิเวศของโลก IP - NFT และ Metaverse

การเปิดตัว คราวน์ โทเคน “CWT” อย่างเป็นทางการของบริษัท T&B นั้นถือว่าเป็น Big Move ของโลกเทคโนโลยีและวงการบันเทิงในประเทศไทยทั้งในด้าน IP (Intellectual Property), NFT (Non Fungible Tokens) และ Metaverse

สำหรับ คราวน์ โทเคน “CWT” เป็น Utility Token หรือ เหรียญที่ใช้เพื่อแลกกับบริการ อยู่บนเชนของ Ethereum พัฒนามาเพื่อเชื่อมต่อระบบนิเวศระหว่าง IP กับ NFT และ Metaverse ไม่สามารถนำ Token ไปซื้อเป็นสินค้าได้ เพราะฉะนั้นบริษัทหรือพาร์ทเนอร์ที่จะเข้ามาร่วมธุรกิจด้วยนั้น บางรายจะมาในรูปแบบ NFT โดยเฉพาะกับธุรกิจบันเทิง

“Intellectual Property หรือ ทรัพย์สินทางปัญญา มันถูก Transform ให้มาอยู่บนโลกดิจิทัลมาขึ้น อยู่บนระบบ Blockchain มากขึ้น การถูกนำมาใช้จะค่อยเป็นค่อยไป แต่เราเชื่อว่าในอนาคตมันจะเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ” พรรณธร ลออรรถวุฒิ, CFA, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มบริษัท T&B Media Global และ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท VUCA Digital กล่าว

สำหรับแผนของ T&B นั้น มีการพัฒนาอยู่ 3 แพลตฟอร์มหลักๆ คือ

-SMO แพลตฟอร์ม Interactive Live Streaming platform เป็นศูนย์กลางในการสร้างคอมมูนิตี้ สร้างการมีส่วนร่วม ของ ครีเอเตอร์ ศิลปิน และกลุ่มแฟน ซึ่งคนที่ถือ Token จะสามารถนำเหรียญที่ถืออยู่นั้นไปแลกสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้ โดยเงื่อนไขจะมีหลายรูปแบบ เช่น ผู้ที่ถือเหรียญไว้ตามจำนวนที่กำหนดจะมีสิทธิ์ลุ้นรับ NFT ของศิลปิน หรือ อาจจะต้องนำไป Stake เพื่อได้สิทธิ์ลุ้นรับ NFT ของศิลปิน

-ADOT แพลตฟอร์ม NFT เป็น Market Place ที่เตรียมเปิดตัวเร็วๆ นี้ ซึ่งแพลตฟอร์มนี้ถูกพัฒนามาเพื่อเชื่อมต่อกับ NFT ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแพลตฟอร์ม SMO แต่ในกรณีที่ผู้ถือครองต้องการนำ NFT ของตนเองไปวางขายผ่านแพลตฟอร์มอื่นๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน

-Translucia Metaverse เป็นเมกะโปรเจกต์ ของ T&B ที่ยังไม่มีรายละเอียดอะไรออกมา คาดว่าภายในปลายปี 2022 นี้จะมีข้อมูลที่ชัดเจนและครบถ้วนมากขึ้น ทั้งนี้ก็มีการเผยรายละเอียดออกมาว่า คนที่ถือ CWT อาจจะได้สิทธิ์เข้าถึงโลก Translucia Metaverse ก่อนคนอื่น

ผู้ซื้อ CWT Token จะมั่นใจได้อย่างไร?

หลังจากเปิดซื้อขาย CWT Token ผ่านแพลตฟอร์ม Zipmex เมื่อในวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา จะเห็นว่าราคานั้นค่อนข้างผันผวน จากราคาเปิดตัวที่ 30 กว่าบาท ในวันแรก ปัจจุบัน(1.00 น. ของวันที่ 8 มีนาคม) ราคานั้นอยู่ที่ 133.45 บาท ต่อ 1 Token

คราวน์ โทเคน “CWT” ตัวเชื่อมระบบนิเวศของโลก IP - NFT และ Metaverse

พรรณธร ให้ความเห็นว่า เวลาคนจะเข้ามาลงทุนหรือซื้อสินค้า สิ่งแรกที่เขาจะมองคือความน่าเชื่อถือ ซึ่ง T&B เป็นกลุ่มบริษัทที่ทำธุรกิจจริง มีระบบนิเวศที่แข็งแรง ซึ่งในแง่ที่เห็นว่าราคามีความผันผวนสูง เกิดจากการที่คนเข้ามาเก็งกำไรระยะสั้นซึ่งไม่สามารถห้ามได้

คนในวงการคริปโทเคอร์เรนซีค่อนข้างสนใจเหรียญ CWT และอยากจะเข้ามามีส่วนร่วม เข้ามาศึกษาเกี่ยวกับ NFT และ Metaverse ซึ่ง CWT มีให้ทุกอย่าง

“ผู้ที่อยากเข้ามาทำความเข้าใจกับเรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้น เห็นศักยภาพของทรัพย์สินทางปัญญา เห็นโอกาสการเติบโตของ NFT และเห็นอนาคตของ Metaverse ก็จะเข้ามาซื้อเหรียญนี้ ซึ่งปัจจุบันในตลาดประเทศไทยยังไม่มีใครทำ Token ลักษณะนี้”

พรรณธร กล่าวต่อว่า โมเดลธุรกิจของ T&B มีความชัดเจน ในอนาคตจะมีพาร์ทเนอร์เข้ามาใหม่เรื่อยๆ จะเพิ่มโอกาสในการเติบโตมากขึ้น สิ่งที่บริษัทต้องคิด คือ จะทำอย่างไรให้คนที่ถือครอง Token แล้วได้ประโยชน์ในระยะยาว ซึ่งการทำโปรเจกต์ออกมาในแต่ละครั้ง ต้องให้ความคุ้มค่ากับราคาของเหรียญที่คนถือครอง ทำให้มันพิเศษจริงๆ

เป้าหมายของคราวน์ โทเคน

พรรณธร กล่าวว่า ขั้นต่อไปของ คราวน์ โทเคน คือการเพิ่ม Use Case ให้กับ Token CWT ผ่านการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ และ พันธมิตรต่างๆ ทั้งจากในไทยและต่างประเทศ

“เราโชคดีที่มีพาร์ทเนอร์มาจากอุตสาหกรรมต่างๆ เราอยากให้ CWT เพิ่มมูลค่าและเพิ่มโอกาสในการเชื่อมต่อ กับพันธมิตรของเราด้วย ไม่ใช่เพียงแค่บริษัทในกลุ่มของเราเท่านั้น”

พรรณธร ยืนยันว่า สำหรับ Token ทั้งหมดที่ลิสออกมาแล้ว 140 ล้านเหรียญ จะไม่มีการทำเพิ่มอีก แต่ปัจจุบันยังปล่อยออกมาไม่ครบทั้ง 140 ล้านเหรียญ

สำหรับ Token ที่ออกมาขายในกระดานของ Zipmex นั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง ซึ่งในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่าจะไปลิสอยู่ในแพลตฟอร์มอื่น ในกระดานอื่น แต่ยังไม่ระบุว่าในไทยหรือต่างประเทศ

“การจะลิสออกมาจนครบ 140 ล้านเหรียญนั้น ขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่สร้างเหรียญออกมาจะนำไปลิสที่กระดานไหน จำนวนเท่าใด และในภูมิภาคไหน ซึ่งก็จะทยอยออกเหรียญไปเพราะแผนของเรานั้นเป็นโปรเจกต์ระยะยาว” พรรณธร กล่าว

คราวน์ โทเคน “CWT” ตัวเชื่อมระบบนิเวศของโลก IP - NFT และ Metaverse

สำหรับพันธมิตรของ Crown Token “CWT” มีทั้งบริษัทในไทยและต่างประเทศ ได้แก่ MQDC, ZIPMEX, The Last Idol, Search Entertainment, BBTV New Media, One Enterprise , Lomabin, หัวเว่ย เทคโนโลยี, INFOFED (อินโฟเฟด), Cozy Game และมหาวิทยาลัยรังสิต, Pellar Technology ผู้เชี่ยวชาญระบบบล็อกเชน, Mr. Andrew Gordon ผู้อยู่เบื้องหลังแอนิเมชัน อย่าง “Monsters, Inc.” “Toy Story”, Mr. Kenji Xiao ผู้คร่ำหวอดในวงการแอนิเมชั่นในจีน และ Sunac Culture Group พาร์ทเนอร์จากจีนที่มีเครือข่ายในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สวนสนุกธีมพาร์ค และธุรกิจด้าน Family Entertainment ของจีน

Scroll to Top